ด้วงกาแฟ COFFEE BEAN WEEVIL

ด้วงกาแฟ COFFEE BEAN WEEVIL

Araecerus fasciculatus (De Geer)

 

ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา

ลักษณะหนวด : แบบลูกตุ้ม (Capitate) ปลายหนวด 3 ปล้องมีขนาดขยายใหญ่กว่าปล้องอื่น ๆ

ลักษณะปีก : ปีกคู่หน้าเป็นแบบแข็ง (Elytra) มีขนสีขาวสลับน้ำตาลเข้มทำให้มองเห็นเป็นจุดประสีน้ำตาลเข้ม ปีกสั้นกว่าลำตัวเล็กน้อย ปีกคู่หลังเป็นแบบ membrane ลักษณะบางใส

ลักษณะปาก : แบบกัดกิน (chewing type)

ลักษณะขา : แบบขาเดิน (walking leg) บริเวณปลายขาทุกคู่เป็นสีขาวเห็นได้ชัดเจน

ลักษณะทั่วไป : ตัวเต็มวัยมีลักษณะคล้ายด้วงถั่ว ขนาดของลำตัวอยู่ที่ 3.0-5.0mm. ตัวเต็มวัยสีน้ำตาลอมเทา ลักษณะของไข่มีลักษณะเรียวยาวสีขาวรี  ตัวอ่อนมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก มีสีเหลืองอมน้ำตาล แมลงชนิดนี้เป็นแมลงที่ใหญ่ที่สุดของแมลงศัตรูผลิตผลทางการเกษตร

พฤติกรรม : อาศัยอยู่ในธรรมชาติ ตามต้นไม้ เกาะตามใบไม้ กิ่งไม้ การวางไข่จะวางไข่บนเศษผัก ผลไม้ หรือในถังน้ำหมักที่มีกลิ่นเปรี้ยว ไม่เป็นพาหะนำโรค ไม่เป็นศัตรูพืช

 

ด้วงกาแฟมีการเจริญเติบโตแบบ complete metamorphosis ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  • ระยะไข่ (egg)ตัวเมียของด้วงกาแฟสามรถวางไข่ได้ประมาณ 50 ฟอง มีวงจรชีวิตประมาณ 46-66 วัน วงจร
  • ตัวอ่อน (larva)ชีวิตของด้วงกาแฟจะสั้นลงเมื่อมีความชื้น และในความชื้นที่ต่ำกว่า 60% ที่อุณหภูมิ 27 °C 
  • ดักแด้ (pupa)ยกเว้นระยะดักแด้ ซึ่งจะทำให้ดักแด้เจริญเติบโตช้าขึ้น จาก 29 วัน เป็น 57 วัน 
  • ตัวเต็มวัย (adult) : ตัวเต็มวัยมีชีวิตนาน 17 สัปดาห์

 

แหล่งอาหาร : กาแฟ โกโก้ มันสำปะหลังแห้ง มันฝรั่ง มันเทศ เผือก โสม ขิง ข้าวฟ่าง แป้งสาลี แป้งมัน เครื่องเทศ กระเทียม เป็นต้น

ลักษณะการทำลาย : ด้วงกาแฟเป็นศัตรูที่สำคัญต่อการเก็บรักษาเมล็ดกาแฟ มันสำปะหลังแห้งและผลิตผลทางการเกษตรชนิดต่าง ๆ ตัวหนอนเข้าทำลายผลกาแฟสดตั้งแต่ในไร่ แม้ว่าจะทำความเสียหายไม่มาก ในผลิตผลที่มีราคาแพง แต่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อคุณภาพมากกว่าความเสียหายที่เกิดจากการทำลาย สำหรับมันสำปะหลังด้วงกาแฟก่อให้เกิดความมเสียหายมาก

การแพร่กระจาย : มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ปัจจุบันระบาดทั้งในเขตร้อนชื้นและกึ่งร้อนชื้น

 

วิธีการป้องกันควบคุม

กำจัดโดยวิธีทางเขตกรรม

  • ควรเก็บผลผลิตกาแฟในระยะเวลาและฤดูกาลที่ถูกต้อง
  • อย่าปล่อยผลกาแฟที่สุกหรือผลกาแฟแห้งแล้วทิ้งให้ติดค้างอยู่บนต้น หรือผลกาแฟที่ร่วงหล่นลงสู่พื้นใต้ทรงพุ่ม ควรกำจัดออกไปจากพื้นที่เพาะปลูกให้หมด
  • ตัดแต่งกิ่งที่ให้ผลแล้ว หรือกิ่งที่มีผลแห้งติดอยู่เพื่อกำจัดมอดที่หลบซ่อนอยู่ และทำให้ทรงพุ่มกาแฟโปร่ง ไม่เกิดร่มเงามาก
  • หลีกเลี่ยงการตากผลกาแฟสุกบนพื้นดิน หรือตากอยู่ในบริเวณพื้นที่เพาะปลูก หรือบริเวณใกล้เคียง

 

กำจัดโดยชีววิธี

  • ใช้เชื้อราบิวเวอร์เรีย บาสเซียน่า (Beauveria bassiana) ฉีดบริเวณพื้นดิน ทำให้เกิดโรคกับมอดกาแฟ ภายใต้สภาพอากาศที่ร้อนและชื้น
  • การใช้กับดักและสารล่อสามารถช่วยลดจำนวนมอดที่เจาะเข้าทำลายผลกาแฟได้ผลก็จริง แต่นอกฤดูที่กาแฟยังไม่ให้ผล มอดส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในดิน จนเมื่อกาแฟเริ่มออกผลอีกครั้ง มอดก็จะออกจากดินขึ้นมากินผลกาแฟ ดังนั้นการป้องกันและกำจัดมอดเจาะผลกาแฟให้ได้ผลมากที่สุดจึงควรให้วิธีผสมผสาน เช่น การใช้เชื้อรา แมลง หรือสารสกัดจากพืช ฉีดพ่นในแปลง หรือใช้พริกโรยบริเวณใต้ต้นกาแฟ ก็จะช่วยไล่มอดเจาะกาแฟที่อยู่ในดินให้บินขึ้นมาและติดกับดักได้เช่นกัน"

 

เอกสารอ้างอิง

พรทิพย์ วิสารทานนท์, พรรณเพ็ญ ชโยภาส, ใจทิพย์ อุไรชื่น, รังสิมา เก่งการพานิช, กรรณิการ์ เพ็งคุ้ม, จิราภรณ์ ทองพันธ์, ดวงสมร สุทธิสุทธิ์, ลักขณา ร่มเย็น, ภาวินี หนูชนะภัย, อัจฉรา เพชรโชติ. (2551). แมลงที่พบในผลิตผลเกษตรและการป้องกันกำจัด. กลุ่มวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว สำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร กรมวิชาการเกษตร

......................................................................................

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

Tel : 02-377-2488, 02-377-9580, 02-375-1995, 02-374-7118-9
Line ID : 0819056566
e-mail : customercare@unicorgroup.com
website : www.unicorgroup.com
FB page: fb.me/Professional.Pest.control.Training.Programm
FB massenger : m.me/Professional.Pest.Control.Training.Programm