หนูดำ BLACK RAT, HOUSE RAT

หนูดำ BLACK RAT, HOUSE RAT 

  • ชื่อสามัญ : Black rat, House rat, Roof rat, Ship rat
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rattus exulans
  • Family : Muridae
  • Order : Rodentia

 

ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา

ลักษณะทั่วไป :หนูดำเป็นหนูขนาดกลาง โดยทั่วไปมีขนาดลำตัวอยู่ที่ 12.75-18.25 cm. หางยาว 15-22 cm. มีสีดำถึงสีน้ำตาลอ่อน ส่วนท้องสีอ่อนกว่าใบหูใหญ่ หางสีดำมีความยาวพอ ๆ หรือยาวกว่าความยาวลำตัวและหัว มีเกล็ดตลอดทั้งหาง จมูกแหลมกว่าหนูบ้าน

 

หนูจี๊ดมีการเจริญเติบโตทั้งหมด 3 ระยะ ประกอบด้วย

  • ระยะตั้งครรภ์ (Gestation) : ผสมพันธุ์ตลอดทั้งปี โดยออกลูกปีละ 5 ครอก มีระยะเวลาประมาณ 21-29 วัน
  • หย่านม (Weaning) : ประมาณ 3-4 สัปดาห์
  • ระยะตัวเต็มวัย (Adult) : โดยทั่วไปมีอายุขัยประมาณ 1 ปี

 

พฤติกรรม : ตัวเมียมีพฤติกรรมก้าวร้าวกว่าตัวผู้ออกหากินเวลากลางคืน มีความสามารถในการปีนป่าย ว่องไว มักพบบนเรือ

แหล่งอาศัย : เป็นหนูที่ปรับตัวให้อยู่ในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี พบในพื้นที่เกษตรกรรม ชอบอาศัยอยู่บนที่สูง เช่น ชั้นบนสุดของอาคาร เพดานบ้าน เป็นต้น

แหล่งอาหาร : กินผลไม้ ธัญพืช ซีเรียล และพืชพรรณอื่น ๆ หรือแมลง ไส้เดือน

การแพร่กระจาย : พบได้ทั่วโลก แพร่กระจายผ่านการเดินทางของมนุษย์ พบมากที่สุดในพื้นที่ชายฝั่งทะเลเนื่องจากเป็นสัตว์ฟันแทะที่เจริญเติบโตในพื้นที่ที่มนุษย์อาศัยอยู่และบนเรือขนาดใหญ่

 

การนำโรคที่เกิดจากสัตว์ฟันแทะจำพวกหนู 

  • โรคฉี่หนู (Leptospirosisเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Leptospiraที่สะสมอยู่บริเวณท่อไตของหนู การแพร่เชื้อสู่คนเกิดจากการสัมผัสปัสสาวะหรือสารคัดหลั่งของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือสัมผัสกับน้ำหรือดินที่ปนเปื้อนปัสสาวะของสัตว์ที่ติดเชื้อ
  • โรคไข้หนูกัด : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Streptobacillus moniliformesซึ่งอยู่ในช่องปาก จมูก ทางเดินหายใจส่วนต้นของสัตว์ฟันแทะจำพวกหนู โดยจะแพร่สู่คนโดยการกัดหรือข่วน เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล
  • โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (LCMV) : เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Lymphocytic choriomeningitis virus (LCMVมักเกิดจากการสัมผัสกับอุจจาระ ปัสสาวะ หรือน้ำลายของหนูที่ติดเชื้อ
  • โรค Hantavirus : เกิดจาก Hantavirus ที่ปนเปื้อนมากับอุจจาระ ปัสสาวะ และสารคัดหลั่งจากสัตว์ฟันแทะ หรือจากการกัด รับเชื้อผ่านทางผิวหนังที่มีบาดแผล รวมถึงกินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ
  • โรค Q fever เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Coxiella burnetii คนมักติดโรคจากการหายใจเอาฝุ่นละอองที่ปนเปื้อนเชื้อ หรือจากการสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ที่ติดเชื้อ
  • โรคติดเชื้อในทางเดินอาหาร : เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนอยู่ในมูล ปัสสาวะ หรือสารคัดหลั่งของหนู โดยจะได้รับเชื้อจากการกินอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ อาทิเช่น Salmonellosis, Campylobacteriosis,Cryptosporidiosis เป็นต้น
  • นอกจากนี้ยังมีโรคที่เกิดจากเห็บ หมัด และไรที่อยู่บนตัวหนู ได้แก่ โรคไข้กระตาย (Tularemia),กาฬโรค, โรคไข้กลับซ้ำ, โรคไข้รากสาดใหญ่

 

 

เอกสารอ้างอิง    

 Allen, G. 1938. The Mammals of China and Mongolia. Natural history of Central Asia. New York: American Museum of Natural History.

Corbet, G., H. Southern. 1977. The Handbook of British Mammals. Oxford: Octavo.

Desquesnes, M., S. Ravel, G. Cuny. 2002. PCR identification of Trypanosoma lewisi, a common parasite of laboratory rats. Kinetoplastid Biology and Disease, 1: 2. Accessed September 03, 2006 at http://www.pubmedcentral.nih.gov/articlerender.fcgi?artid=119323.

Grzimek, B. 2003. Grzimek's Animal Life Encyclopedia: Mammals. Pp. 126-128 in N Schlager, D Olendorf, M McDade, eds. Order: Rodentia, Vol. 16, 2nd Edition. Farmington Hills, MI: Gale Group.

Mafiana, C., M. Osho, S. Sam-Wobo. 1997. Gastrointestinal helminth parasites of the black rat (Rattus rattus) in Abeokuta, southwest Nigeria.. Journal of Helminthology, 71: 217-220.

Nowak, R. 1999. Walker's Mammals of the World (6th Edition). Baltimore, Maryland: Johns Hopkins University Press. 

Pye, Swain, and Seppelt, 1999. Distribution and habitat use of the feral black rat (Rattus rattus) on subantarctic Macquarie Island. Journal of Zoology, 247: 429-438.

Veitch, D. 2006. "Rattus rattus" (On-line). Global Invasive Species Database. Accessed February 21, 2008 at http://www.issg.org/database/species/ecology.asp?si=19.

"Black rat, House Rat, Roof Rat, Ship Rat (Rattus rattus)". WAZA.org. Archived from the original on 19 October 2016. Retrieved 19 October 2016.

Gillespie, H. (2004). "Rattus rattus – house rat". Animal Diversity Web.

Schwartz, Charles Walsh and Schwartz, Elizabeth Reeder (2001). The Wild Mammals of Missouri, University of Missouri Press, p. 250

Engels, D. W. (1999). "Rats". Classical Cats: The Rise and Fall of the Sacred Cat. London and New York: Routledge. pp. 1–17

Boschert, Ken (27 March 1991). "Rat Bacterial Diseases". Net Vet and the Electronic Zoo. Archived from the original on 18 October 1996. Retrieved 22 April 2011.

Shiels AB, Pitt WC, Sugihara RT, Witmer GW, 2014. Biology and impacts of Pacific island invasive species 11. The black rat, Rattus rattus (Rodentia, Muridae). Pacific Science, 68(2)

Centers for Disease Control and Prevention. 2014. Lymphocytic Choriomeningitis (LCM). Accessed on August 29, 2022, From https://www.cdc.gov/vhf/lcm/index.html

NSW Health. 2021. Staying healthy during a mouse plague. Accessed on August 29, 2022, From https://www.health.nsw.gov.au/environment/factsheets/Pages/mouse-plague.aspx

Center of Emerging and Re-emerging Infectious Diseases in Animals, Faculty of Veterinary Science Chulalongkorn University. (n.d.). Q fever. Accessed on August 29, 2022, From http://www.eidas.vet.chula.ac.th/node/382

Center of Emerging and Re-emerging Infectious Diseases in Animals, Faculty of Veterinary Science Chulalongkorn University. (n.d.). Hantavirus. Accessed on August 29, 2022, Fromchrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://www.cfsph.iastate.edu/FastFacts/th/hantavirus.pdf

Bi, Z. Q., Formenty, P. B. H. & Roth, C. E. Hantavirus Infection: a review and global update. J. Infect. Dev. Ctries. 2, 3–23 (2008).

Wong, T. W. et al. Hantavirus infections in humans and commensal rodents in Singapore. Trans. R. Soc. Trop. Med. Hyg. 83, 248–251 (1989).