เพลี้ยจักจั่น สีเขียว GREEN RICE LEAFHOPPER

เพลี้ยจักจั่น สีเขียว GREEN RICE LEAFHOPPER

  • ชื่อสามัญ : Green rice leafhopper
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nephotettix virescens(D.)
  • Family : Cicadellidae
  • Order : Hemiptera

 

ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา

ลักษณะหนวด : แบบเส้นด้าย (filiform)

ลักษณะปีก : ปีกคู่หน้าเป็นแบบ Hemelytra บริเวณส่วนโคนปีกแข็ง ส่วนปีกคู่หลังเป็นแบบ membrane มีลักษณะบางใส

ลักษณะปาก : แบบเจาะดูด (piercing-sucking type)

ลักษณะขา : ขาคู่ที่ 1-2 เป็นแบบขาเดิน (walking leg) ขาคู่ที่ 3 เป็นแบบขากระโดด (Jumping leg)

ลักษณะทั่วไป : มีความยาวลำตัว 3.0 – 5.0 mm. ตัวเต็มวัยของเพลี้ยจักจั่นมีสีเขียวอ่อนและอาจมีแต้มดำบนหัวหรือปีกเพลี้ยจักจั่นสีเขียว N. virescens(Distant) มีลักษณะคล้ายกับ N. nigropictus (Stal) โดย N. nigropictus (Stal) มีลักษณะมีขีดดำพาดตามความยาวของขอบหน้าผากระหว่างตาทั้ง 2 ข้าง แต่ N. virescens(Distant) ไม่มี ตัวเต็มวัยปีกยาวคลุมลำตัว เคลื่อนย้ายรวดเร็วเมื่อถูกรบกวน  สามารถบินได้เป็นระยะทางไกลหลายกิโลเมตร  ชอบบินมาเล่นไฟตอนกลางคืน

 

เพลี้ยจักจั่นสีเขียว มีการเจริญเติบโตแบบ incomplete metamorphosis ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  • ระยะไข่ (egg) : ตัวเมียวางไข่ประมาณ 5-60 ฟอง ระยะไข่มีระยะเวลาประมาณ 7วัน
  • ตัวอ่อน (Nymph) : มีระยะเวลา 14 วัน ลอกคราบ 4 ครั้ง
  • ตัวเต็มวัย (adult) : มีชีวิตอยู่ได้ 10 วัน

แหล่งอาหาร : พืชตระกูลหญ้า (F. Poaceae) เช่น ข้าว เป็นต้น

ลักษณะการทำลาย : ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและลำต้นข้าวได้ทุกช่วงอายุ ทำให้ใบและลำต้นเหลืองหรือเป็นจุดเหลืองหรือน้ำตาล ทำให้ใบพืชเกิดโรคใบส้ม

การแพร่กระจาย : กระจายอยู่ทั่วไปในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ญี่ปุ่น และไต้หวัน

 

วิธีการป้องกันควบคุม

  • ใช้พันธุ์ต้านทาน เช่น กข 9
  •  ช่วงที่พบแมลงมาก ควรติดหลอดแสงไฟล่อแมลงและทำลายเสีย
  • หมั่นตรวจดูแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ ในระยะกล้าข้าวอายุไม่เกิน 60 วัน ใช้สวิงโฉบถ้าพบเพลี้ยจักจั่นสีเขียวเฉลี่ย 2 ตัวต่อ 10 โฉบให้ใช้สารฆ่าแมลงฉีดพ่นเพื่อทำลายแมลงพาหะ หลังจากข้าวมีอายุ 60 วัน แล้วถ้าพบเพลี้ยจักจั่นสีเขียว 20 ตัวต่อ 10 โฉบ ให้ใช้สารฆ่าแมลงฉีดพ่นทำลาย
  •  ใช้สารฆ่าแมลงในการป้องกันกำจัดดังนี้
  •  สารฆ่าแมลงชนิดเม็ด ประเภทดูดซึม ได้แก่ carbofuran (ฟูราดาน หรือ คูราแทร์) ในอัตรา 5 กก./ไร่ โดยหว่านตามทันทีหลังหว่านข้าวงอก ถ้ายังมีแมลงระบาดอีกก็ให้หว่านเป็นครั้งที่ 2 โดยใช้หลังจากใช้ครั้งแรกแล้ว 25 วัน เพื่อยับยั้งการดูดกินน้ำเลี้ยง และการถ่ายทอดเชื้อไวรัส
  •  พ่นสารฆ่าแมลงชนิดผสมน้ำ ได้แก่  isoprocarb (มิพซิน 50% ดับบลิวพี), MTMC (ซูมาไซด์ 50% ดับบลิวพี), BPMC (บัซซ่า หรือ ฮอปซิน 50% อีซี) โดยใช้อัตรา 40 กรัม หรือ ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร

 

เอกสารอ้างอิง

S. K. De Datta: “Principles and practices of rice production,” John Wiley & Sons, Singapore, pp. 420–449, 1981.

S. Nasu: Bull. Kyushu Agric. Exp. Sta. 8, 153–349 (1963) (in Japanese with English summary).

S. Nara, M. Sugiura, S. Wakimoto and T. Iida: Ann. Phytopathological Soc. Jpn. 33, 343–344 (1967) (in Japanese).

...................................................................................................... 

*** สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม *** 

Tel : 02-374-7118-9, 02-377-2488, 02-377-9580, 02-375-1995
e-mail : customercare@unicorgroup.com
website : www.unicorgroup.com