มอดยาสูบ Cigarette Beetle

มอดยาสูบ LASIODERMA

  • ชื่อสามัญ : Cigarette Beetle
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lasioderma serricorne 
  • Family : Anobiidae
  • Order : Coleoptera

ลักษณะ

ตัวเต็มวัยของมอดยาสูบมีลักษณะทรงกลมรูปไข่ ขนาด 2 – 3 mm. ส่วนหัวของมอดยาสูบมีลักษณะตัดเข้าหาลำตัวหรือหดสั้นที่มองจากด้านข้าง ปีกแข็งมีลายอยู่ตามผิวปีก ตัวอ่อนเรียวยาวมีขนรอบลำตัว มีขนาด 2-3 mm.

ชีวประวัติ

การดำรงชีวิตของตัวเต็มวัยจะใช้ชีวิตระยะ 2-4 สัปดาห์ ตัวเต็มวัยเพศเมียสามารถวางไข่ได้ถึง 100 ฟอง โดยจะวางไข่ใกล้อาหารของมอดยาสูบ ไข่เป็นสีขาวทรงกลมจะฟักไข่ในระยะเวลา 6-10 วัน หลังจากที่ตัวอ่อนออกจากไข่นั้นตัวอ่อนจะเข้าไปเจาะในอาหารเพื่อการเจริญเติบโตจะใช้เวลา 30 – 50 วัน จากนั้นจะเข้าดักแด้ใช้เวลาในช่วงดักแด้ประมาณ 8 – 10 วัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม การดำรงชีวิตจะครบทุกระยะใช้เวลาประมาณ 40-50 วัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม

การป้องกันมอดยาสูบสามรถทำได้โดยการใช้พลาสติกแบบหนาพันไว้มิดชิดที่วัตถุดิบ และหมั่นตรวจสอบตามรอยแตกของอาคาร ในการใช้สารเคมีจำเป็นต้องอบด้วยก๊าซฟอสฟีนเพื่อทำการกำจัดไข่และตัวเต็มวัยของมอดยาสูบ และในการนำสินค้าประเภทที่สามารถเป็นอาหารของมอดยาสูบได้นั้นจำเป็นต้องทำการตรวจเช็คหรือกักกันไว้เพื่อตรวจสอบให้แน่นอนก่อนที่จะนำเข้ามาเก็บไว้ในโกดังเก็บสินค้า ในการตรวจเช็คนั้นสามารถทำได้โดยการใช้ไฟล่อแมลงมาตรวจเช็คเพื่อตรวจสอบว่าเริ่มพบในช่วงเวลาใดเพื่อทำการแก้ไขโดยด่วน

 

วิธีการป้องกันควบคุม

  • ควรทำความสะอาดพื้นอาคารอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดแหล่งอาหารที่ตกอยู่ตามพื้น และแหล่งหลบซ่อนตามซอกมุมต่าง ๆ เช่น ตามมุมของโคนเสา ตู้ควบคุมวงจรไฟฟ้า เป็นต้น
  • ลดความชื้นในเมล็ดพืช ก่อนนำเข้าเก็บรักษา
  • ควบคุมอุณหภูมิโดยการใช้ความร้อนหรือเย็นจัดเพื่อให้แมลงหยุดการเจริญเติบโตและบางชนิดตายไป
  • ทำการอบแก๊ส Fumigate วัตถุดิบก่อนที่จะนำเข้ามาเก็บไว้ และ Fumigate สินค้าที่รอ Reject เพื่อป้องกัน การแพร่พันธุ์ของแมลงในโรงเก็บ กระจายไปในพื้นที่ใกล้เคียงได้
  • ไม่เก็บวัตถุดิบไว้เป็นเวลานาน เพื่อไม่ไห้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์หรือแหล่งสะสมของแมลงในโรงเก็บ
  • ใช้สถานีฟีโรโมน Pheromone trap เพื่อกำจัดตัวเต็มวัยและเป็นตัว monitor การระบาดและการแพร่กระจายของแมลงจำพวกมอดแป้ง และมอดยาสูบ

 

เอกสารอ้างอิง

พรทิพย์ วิสารทานนท์, พรรณเพ็ญ ชโยภาส, ใจทิพย์ อุไรชื่น, รังสิมา เก่งการพานิช, กรรณิการ์ เพ็งคุ้ม, จิราภรณ์ ทองพันธ์, ดวงสมร สุทธิสุทธิ์, ลักขณา ร่มเย็น, ภาวินี หนูชนะภัย, อัจฉรา เพชรโชติ. (2551). แมลงที่พบในผลิตผลเกษตรและการ

ป้องกันกำจัด. กลุ่มวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว สำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร กรมวิชาการเกษตร

...................................................................................................... 

*** สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม *** 

Tel : 02-374-7118-9, 02-377-2488, 02-377-9580, 02-375-1995
e-mail : customercare@unicorgroup.com
website : www.unicorgroup.com

 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ