มอดสมุนไพร Drugstore beetle

มอดสมุนไพร STEGOBIUM PANICEUM

  • ชื่อสามัญ : Drugstore beetle
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Stegobium paniceum (L.)
  • Family : Anobiidae
  • Order : Coleoptera

 

ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา

ลักษณะหนวด : แบบฟันเลื้อย (serrate) 

ลักษณะปีก : มีปีกคู่หน้าเป็นแบบแข็ง (Elytra) ปีกคู่หลังเป็นแบบ membrane ลักษณะบางใส

ลักษณะปาก : แบบกัดกิน (chewing type)

ลักษณะขา : แบบขาเดิน (walking leg)

ลักษณะทั่วไป : ตัวเต็มวัยมีลักษณะคล้ายมอดยาสูบมาก แต่มีขนาดใหญ่กว่ามอดยาสูบเล็กน้อย มีขนาดลำตัวประมาณ  2 – 3 mm. ลักษณะที่แตกต่างจากมอดยาสูบคือ ปลายหนวดของมอดสมุนไพร มี 3 ปล้อง ปล้องสุดท้ายมีขนาดใหญ่กว่าปล้องอื่นๆ มีขนปกคลุมตามลำตัว  ส่วนหัวและอกปล้องแรกงองุ้มลงด้านล่าง ในส่วนของอก (thorax) เรียบไม่มีหยัก ปีกคู่หน้ามีลักษณะเป็นหลุม (puncture) เรียงเป็นเส้นตรงไปตามแนวยาวปีกเห็นได้ชัดเจน ปีกมีสีน้ำตาลคลุมท้องมิด ด้านบนปีกมีขนขนาดเล็กปกคลุมอยู่  ส่วนของปล้องท้องด้านล่างมีทั้งหมด 5 ปล้อง 

 

มอดสมุนไพร มีการเจริญเติบโตแบบ complete metamorphosis ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  • ระยะไข่ (egg) : มีระยะเวลา 3-7 วัน ไข่มีสีขาว ตัวเมียวางไข่ประมาณ 75 ฟอง
  • ตัวอ่อน (larva) : มีระยะเวลา 21-30 วัน หนอนมีสีเหลือง ลำตัวโค้งงอ
  • ดักแด้ (pupa) : มีระยะเวลา 3-7 วัน
  • ตัวเต็มวัย (adult) : มีอายุไขเฉลี่ย 13-65 วัน วงจรชีวิตตั้งแต่ระยะไข่ถึงตัวเต็มวัยประมาณ 40 วัน

แหล่งอาหาร : สินค้าที่ผ่านการแปรรูป อาทิเช่น ช็อกโกแลต ขนมปังกรอบ เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบในสมุนไพรและเครื่องเทศแห้ง เช่น พริกแห้ง เป็นต้น และสามารถเข้าทำลายสินค้าที่มีราคาแพงได้ เช่น โกโก้ 

ลักษณะการทำลาย : ตัวเต็มวัยสามารถเข้าทำลายโดยการกัดเจาะเข้าไป หรือมุดเข้าไปตามช่อง รวมถึงตามรอยแตก ของภาชนะบรรจุ เช่น กล่องที่ทำด้วยไม้ เพื่อเข้าไปวางไข่ เมื่อตัวหนอนฟักออกจากไข่ แล้วจึงเข้าไปกัดกินอาหารที่อยู่ภายในบรรจุภัณฑ์  ทำให้อาหารที่บรรจุอยู่ภายในถูกกัดกินเป็นรูพรุน ไปทั่วผลิตภัณฑ์ โดยเราจะสามารถพบซากของปลอกดักแด้

การแพร่กระจาย : แพร่กระจายทั่วโลก โดยเฉพาะในเขตร้อน

 

วิธีการป้องกันควบคุม

  • ควรทำความสะอาดพื้นอาคารอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดแหล่งอาหารที่ตกอยู่ตามพื้น และแหล่งหลบซ่อนตามซอกมุมต่าง ๆ เช่น ตามมุมของโคนเสา ตู้ควบคุมวงจรไฟฟ้า เป็นต้น
  • ลดความชื้นในเมล็ดพืช ก่อนนำเข้าเก็บรักษา
  • ควบคุมอุณหภูมิโดยการใช้ความร้อนหรือเย็นจัดเพื่อให้แมลงหยุดการเจริญเติบโตและบางชนิดตายไป
  • ทำการอบแก๊ส Fumigate วัตถุดิบก่อนที่จะนำเข้ามาเก็บไว้ และ Fumigate สินค้าที่รอ Reject เพื่อป้องกัน การแพร่พันธุ์ของแมลงในโรงเก็บ กระจายไปในพื้นที่ใกล้เคียงได้
  • ไม่เก็บวัตถุดิบไว้เป็นเวลานาน เพื่อไม่ไห้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์หรือแหล่งสะสมของแมลงในโรงเก็บ
  • ใช้สถานีฟีโรโมน Pheromone trap เพื่อกำจัดตัวเต็มวัยและเป็นตัว monitor การระบาดและการแพร่กระจายของแมลงจำพวกมอดแป้ง และมอดยาสูบ

 

เอกสารอ้างอิง

พรทิพย์ วิสารทานนท์, พรรณเพ็ญ ชโยภาส, ใจทิพย์ อุไรชื่น, รังสิมา เก่งการพานิช, กรรณิการ์ เพ็งคุ้ม, จิราภรณ์ ทองพันธ์, ดวงสมร สุทธิสุทธิ์, ลักขณา ร่มเย็น, ภาวินี หนูชนะภัย, อัจฉรา เพชรโชติ. (2551). แมลงที่พบในผลิตผลเกษตรและการป้องกันกำจัด. กลุ่มวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว สำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร กรมวิชาการเกษตร

......................................................................................

** สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม **
Tel : 02-377-2488, 02-377-9580, 02-375-1995, 02-374-7118-9
Line ID : 0819056566
e-mail : customercare@unicorgroup.com
website : www.unicorgroup.com
FB page: fb.me/Professional.Pest.control.Training.Programm
FB massenger : m.me/Professional.Pest.Control.Training.Programm

 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ