มอดหนวดยาว Flat grain beetle

มอดหนวดยาว CRYPTOLESTER PUSILLUS 

  • ชื่อสามัญ:Flat grain beetle
  • ชื่อวิทยาศาสตร์:Cryptolestes pusillus
  • Family: Laemophloeidae
  • Order: Coleoptera

 

ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา

ลักษณะหนวด : แบบลูกปัด (moniliform) เรียวยาว

ลักษณะปีก : มีปีกคู่หน้าเป็นแบบแข็ง (Elytra) ปีกคู่หลังแบบ membrane (บางใส)

ลักษณะปาก : แบบกัดกิน (chewing type)

ลักษณะขา : แบบขาเดิน (walking leg)

ลักษณะทั่วไป : ตัวเต็มวัยของมอดหนวดยาวมีขนาดเล็กมาก มีขนาด 1.5 - 2.5mm. มีสีน้ำตาลแดง ลำตัวมีลักษณะแบนรี ขนาด 1.5 - 2.5mm. หัวและรวมกันยาวครึ่งนึงของลำตัว ในส่วนของบริเวณอก (Thorax) มีลักษณะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม ลักษณะที่เด่นชัดของมอดหนวดยาวที่แตกต่างจากมอดชนิดอื่น คือ หนวดมีลักษณะยาวเด่นชัด จึงทำให้มีชื่อว่า มอดหนวดยาว ปีกคู่หน้ามีร่องตื้นๆ ตามแนวยาวปีก และมีขนสั้นๆ ตามลำตัว ขาสีน้ำตาลปนแดง ระยะไข่ของมอดหนวดยาวมีสีขาวขุ่น เรียวยาว ระยะตัวอ่อนมีสีขาวและมีลักษณะลำตัวแบนและงอ และในระยะดักแด้มีสีน้ำตาลอ่อนเมื่อเริ่มเป็นดักแด้จะค่อยเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น

 

มอดหนวดยาว มีการเจริญเติบโตแบบ complete metamorphosis ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  • ระยะไข่ (egg) : ตัวเมียผลิตไข่ได้ถึง 200 ฟอง
  • ตัวอ่อน (larva) : หนอนเมื่อฟักตัวก็จะกินส่วนที่เป็นจุดงอก (germ) ของเมล็ด
  • ดักแด้ (pupa) : ระยะดักแด้จะเข้าดักแด้อยู่ภายในเมล็ดในสภาพอุณหภูมิที่เหมาะสม
  • ตัวเต็มวัย (adult) : ระยะการเจริญเติบโตจากไข่จนถึงตัวเต็มวัยใช้เวลาประมาณ 23 วัน แมลงไม่สามารถอยู่ในความชื้นสัมพัทธ์ที่ต่ำได้ ที่ความชื้นสัมพัทธ์ 50% การตายของแมลงจะสูง ที่อุณหภูมิ 30-33 °C และความชื้นสัมพัทธ์ 80-90% แมลงจะมีการเจริญเติบโตดี
 

แหล่งอาหาร : ข้าวสาลี ข้าวสาร ถั่ว หลอด โกโก้ ผลิตภัณฑ์จากธัญพืช มะพร้าว ฝ้าย ข้าวโพด ข้าวบาร์เลย์ ลูกจันทน์เทศ ข้าวฟ่าง ถั่วเหลือง และทานตะวัน เป็นต้น

ลักษณะการทำลาย : มอดหนวดยาวตัวเต็มวัยทำลายข้าวเปลือกเมล็ดแตก หรือข้าวที่เหลือจากการทำลายของแมลงชนิดอื่น แต่ในข้าวสารสามารถกัดกินเม็ดที่ดีหรือเมล็ดที่เต็มได้โดยไม่ต้องกะเทาะให้เมล็ดแตก ระยะตัวอ่อนจะกัดกินอยู่ภายในเมล็ด และเข้าดักแด้ภายในเม็ด

การแพร่กระจาย : พบทั่วไปในประเทศแถบร้อน สหรัฐอเมริกา อินเดีย

 

วิธีการป้องกันควบคุม

  • ควรทำความสะอาดพื้นอาคารอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดแหล่งอาหารที่ตกอยู่ตามพื้น และแหล่งหลบซ่อนตามซอกมุมต่าง ๆ เช่น ตามมุมของโคนเสา ตู้ควบคุมวงจรไฟฟ้า เป็นต้น
  • ลดความชื้นในเมล็ดพืช ให้ต่ำกว่า 50% จะช่วยให้แมลงมีอัตราการตายสูงและลดจำนวนแมลงได้
  • ควบคุมอุณหภูมิโดยการใช้ความร้อนหรือเย็นจัดเพื่อให้แมลงหยุดการเจริญเติบโตและบางชนิดตายไป
  • ทำการอบแก๊ส Fumigate วัตถุดิบก่อนที่จะนำเข้ามาเก็บไว้ และ Fumigate สินค้าที่รอ Reject เพื่อป้องกัน การแพร่พันธุ์ของแมลงในโรงเก็บ กระจายไปในพื้นที่ใกล้เคียงได้
  • ไม่เก็บวัตถุดิบไว้เป็นเวลานาน เพื่อไม่ไห้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์หรือแหล่งสะสมของแมลงในโรงเก็บ
  • ใช้สถานีฟีโรโมน Pheromone trap เพื่อกำจัดตัวเต็มวัยและเป็นตัว monitor การระบาดและการแพร่กระจายของแมลง

 

เอกสารอ้างอิง

พรทิพย์ วิสารทานนท์, พรรณเพ็ญ ชโยภาส, ใจทิพย์ อุไรชื่น, รังสิมา เก่งการพานิช, กรรณิการ์ เพ็งคุ้ม, จิราภรณ์ ทองพันธ์, ดวงสมร สุทธิสุทธิ์, ลักขณา ร่มเย็น, ภาวินี หนูชนะภัย, อัจฉรา เพชรโชติ. (2551). แมลงที่พบในผลิตผลเกษตรและการป้องกันกำจัด. กลุ่มวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว สำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร กรมวิชาการเกษตร

......................................................................................

** สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม **
Tel : 02-377-2488, 02-377-9580, 02-375-1995, 02-374-7118-9
Line ID : 0819056566
e-mail : customercare@unicorgroup.com
website : www.unicorgroup.com
FB page: fb.me/Professional.Pest.control.Training.Programm
FB massenger : m.me/Professional.Pest.Control.Training.Programm

 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ