ด้วงขาแดง Red-legged ham beetle

ด้วงขาแดง NECROBIA RUFIPES

  • ชื่อสามัญ : Red-legged ham beetle                 
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Necrobia rufipes (De Geer)
  • Family : Cleridae
  • Order : Coleoptera

 

ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา

ลักษณะหนวด : แบบลูกตุ้ม (Capitate)

ลักษณะปีก : ปีกคู่หน้าเป็นแบบแข็ง (Elytra) ปีกคู่หลังเป็นแบบ membrane ลักษณะบางใส

ลักษณะปาก : แบบกัดกิน (chewing type)

ลักษณะขา : แบบขาเดิน (walking leg)

ลักษณะทั่วไป : ตัวเต็มวัยของด้วงขาแดงมีขนาดของลำตัวอยู่ที่ 4.0 – 5.0 mm. มีสีน้ำเงินอมเขียวใสเป็นมัน ทำให้แยกลักษณะออกจากแมลงอื่นได้ง่ายนอกจากนี้ฐานของหนวดและส่วนของขาจะเป็นสีแดงเห็นได้ชัดเจน สามารถเคลื่อนไหวได้เร็วมากและบินได้ดี

 

ด้วงขาแดงมีการเจริญเติบโตแบบ complete metamorphosis ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  • ระยะไข่ (egg) : ตัวเมียวางไข่ได้ 400-1,000 ฟอง เป็นกลุ่มตามรอยแตกบนอาหาร มีระยะเวลา 4-5 วัน
  • ตัวอ่อน (larva) : มีระยะเวลา 20-40 วัน หนอนมีลักษณะสีเทาอมม่วง
  • ดักแด้ (pupa) : มีระยะเวลา 5-7 วัน
  • ตัวเต็มวัย (adult) : มีอายุไขเฉลี่ย 6 เดือน วงจรชีวิตตั้งแต่ระยะไข่ถึงตัวเต็มวัยประมาณ 30-60 วัน

 

แหล่งอาหาร : เนื้อมะพร้าวแห้ง  ผลไม้แห้ง เมล็ดถั่วต่าง ๆ โกโก้ เนื้อแห้ง อาหารทะเลแห้ง กุ้งแห้ง ปลาแห้ง ปลาหมึกแห้ง กระดูกป่น แฮม เบคอน เนยแข็ง หนังสัตว์ เป็นต้น

ลักษณะการทำลาย : ด้วงขาแดงเป็นศัตรูสำคัญที่ทำลายเนื้อมะพร้าวแห้ง โดยทั้งตัวหนอนและตัวเต็มวัยร่วมกันทำลายเนื้อมะพร้าวแห้ง หนอนจะชอนไชเข้าไปในผลแห้งเป็นรูพรุนอยู่ทั่วไป ทำให้เนื้อเสียคุณภาพ ส่วนของพืชที่ถูกทำลายคือผล

การแพร่กระจาย : พบเกือบทั่วโลก ทำลายผลิตผลตลอดปีในเขตร้อนและอบอุ่น

 

วิธีการป้องกันควบคุม

  • ควบคุมอุณหภูมิโดยการใช้ความร้อนหรือเย็นจัดเพื่อให้แมลงหยุดการเจริญเติบโตและบางชนิดตายไป
  • ลดความชื้นในเมล็ดพืช ก่อนนำเข้าเก็บรักษา
  • กำจัดผลิตผลที่พบแมลงเข้าทำลาย ป้องกันแหล่งแมลงทำลายในผลผลิตใหม่
  • ทำการอบแก๊ส Fumigate วัตถุดิบก่อนที่จะนำเข้ามาเก็บไว้ และ Fumigate สินค้าที่รอ Reject เพื่อป้องกัน การแพร่พันธุ์ของแมลงในโรงเก็บ กระจายไปในพื้นที่ใกล้เคียงได้
  • ไม่เก็บวัตถุดิบไว้เป็นเวลานาน เพื่อไม่ไห้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์หรือแหล่งสะสมของแมลงในโรงเก็บ
  • ใช้สถานีฟีโรโมน Pheromone trap เพื่อกำจัดตัวเต็มวัยและเป็นตัว monitor การระบาดและการแพร่กระจายของแมลง

 

เอกสารอ้างอิง

พรทิพย์ วิสารทานนท์, พรรณเพ็ญ ชโยภาส, ใจทิพย์ อุไรชื่น, รังสิมา เก่งการพานิช, กรรณิการ์ เพ็งคุ้ม, จิราภรณ์ ทองพันธ์, ดวงสมร สุทธิสุทธิ์, ลักขณา ร่มเย็น, ภาวินี หนูชนะภัย, อัจฉรา เพชรโชติ. (2551). แมลงที่พบในผลิตผลเกษตรและการป้องกันกำจัด. กลุ่มวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว สำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร กรมวิชาการเกษตร

......................................................................................

** สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม **
Tel : 02-377-2488, 02-377-9580, 02-375-1995, 02-374-7118-9
Line ID : 0819056566
e-mail : customercare@unicorgroup.com
website : www.unicorgroup.com
FB page: fb.me/Professional.Pest.control.Training.Programm
FB massenger : m.me/Professional.Pest.Control.Training.Programm


แบบฟอร์มติดต่อกลับ