ข่าวสารน่ารู้

ไข้เลือดออกระบาดหนักเกินความคาดหมาย ตั้งแต่ต้นปีพบผู้ป่วยแล้ว 13,000 คน เสียชีวิต19 ราย รอยืนยันอีก 6ราย  จากที่ตั้งเป้าไว้ 1พันประชากรเสียชีวิตเพียง 1 ราย หรือ 0.1% คร. ตัดสินใจเปิดศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค (ECO)  

วันที่ 1 มิ.ย. ที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวในระหว่างเป็นประธานเปิดศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค (ECO) กรณีการระบาดของไข้เลือดออก  ว่า หลังจากที่มีการเกิดโรคซิการะบาดในปี 2560 ทางกระทรวงสาธารณสุข โดยท่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ท่านอดีรองปลัดกระทรวงฯ ก็ได้ให้ความสำคัญมาตรการ 3 เก็บ 3 โรค และความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำให้ในปี 2560 การควบคุมดรคไข้เลือดออกมาสถานการณ์ที่ดีขึ้น โดยตั้งแต่ต้นปี ตั้งแต่ ม.ค.-30 พ.ค พบผู้ป่วยแล้วประมาณ 13,000 คน โดยช่วงเวลาดังกล่าวมีอัตราป่วยเฉลี่ย 20 คน/แสนประชากร ซึ่งไม่ได้พบแบบก้าวกระโดดเหมือนกับหลายปีก่อนที่มีการระบาดใหญ่ที่มีการระบาดเป็น 30-40 คน/แสนประชากร แต่ทั้งนี้จากการควบคุมโรคที่ผ่านมาพบว่าอัตราการป่วยเพิ่มมากขึ้นทะลุมาตรฐานในเดือน เม.ย. แต่ในเดือน พ.ค. ยังก้ำกึ่ง จึงคาดการณ์ว่าทั้งปีจะพบผู้ป่วยประมาณ 80,000 ราย ซึ่งหากมีการควบคุมป้องกันโรคที่ดีอาจจะพบน้อยกว่า

 นพ.สุวรรณชัย กล่าวว่า แต่อย่างไรก็ตามแม้ว่าการควบคุมดรคจะทำได้กีขึ้น แต่กลับพบว่ามีอัตราการตายที่สูงขึ้นเกินกว่าที่มีการคาดการณ์ไว้  โดยตั้งแต่ต้นปี พบผู้เสียชีวิตแล้ว 19 ราย โดย 12 รายเป็นกลุ่มเสี่ยง แบ่งเป็น  ผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วน 7 ราย ผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง 3 ราย ผู้สูงอายุ 4 ราย โรคโลหิตจาง 3 ราย และกลุ่มเด็กโต 2 ราย และมีผู้เสียชีวิตที่อยู่ระหว่างรอผลทางห้องปฏิบัติการยืนยัน 6 ราย  เป็น ผู้ป่วยวัยทำงาน2 ราย  ผู้ป่วยสูงอายุ 2ราย และเด็กโต 2 ราย ซึ่งในผู้ป่วยสูงอายุ ผู้มีน้ำหนักเกิน หรือผู้ใหญ่ บางครั้งการรักษาโดยการให้สารน้ำทดแทนทำได้ลำบาก ทำให้ส่วนใหญ่มีอาการรุนแรง ช็อคง่ายและมีการแทรกซ้อนคือตับวาย ไตวาย จนทำให้เสียชีวิตประมาณ 7-8 วัน และจากจำนวนผู้เสียชีวิต 13 ราย พบว่ามีการวินิจฉัยโรคคลาดเคลื่อนเป็นโรคอื่นตั้งแต่แรก เช่น โรคเลือดออกทางเดินอาหาร เป็นต้น

“เนื่องจากโรคไข้เลือดออกยังไม่มียารักษา ต้องรักษาแบบประคับประคอง โดยในปี 2560 มีผู้ป่วยทั้งปี 63 คน ซึ่งก็ได้กดไว้ว่า ในผู้ป่วย 1 พันคน รับได้ให้มีผู้เสียชีวิตเพียง 1 ราย แต่ตั้งแต่ต้นปีกลับมีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 19 คน รอผลทางห้องปฏิบัติการอีก 6 คน ซึ่งเกินกว่าค่ามารตฐาน 0.1 ที่ตั้งไว้ โดยในกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ที่มีภาวะอ้วน หรือผู้สูงอายุก็เป็นกลุ่มเสี่ยงที่น่าเป็นห่วงมาก อีกเรื่องที่น่ากังวลคือ ในกลุ่มผู้สูงอายุ หรือเด็กโต เมื่อมีอาการมักไปหาซื้อยามารับประทานเอง ดังนั้นต้องสื่อไปถึง คลินิก ร้านขายยา คนไข้ และครอบครัวว่าเมื่อมีอาการที่เข้าข่ายให้มาพบแพทย์ เพราะยาบางชนิดเป็นยาที่ห้าม เช่น ยาลดไข้บางกลุ่ม ที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะทำให้เลิกออกบางที่ ดังนั้นแม้ว่าผู้ป่วยเกินกว่าค่ามาตรฐานแต่ก็ยังสามารถควบคุมจำนวนได้ สิ่งสำคัญจึงต้องลดจำนวนผู้เสียชีวิตที่เป้นปัญหาอยู่ โดยมีหลายปัจจัย ทั้ง มีหลายส่วนที่เสี่ยงมากขึ้น ทั้งจำนวนประชากร แหล่งเพาะพันธุ์” นพ.สุวรรณชัย กล่าว.

และว่าอย่างไรก็ตามในขณะนี้ไม่ได้มีเพียงภาคอีกสานหรือภาคเหนือเท่านั้นที่เป็นกลุ่มเสี่ยง เนื่องจากมีความหนาแน่นของประชากร แต่ขณะนี้เนื่องจากเป็นหน้าฝนมีความเสี่ยงทั้งประเทศ อย่างไรก้ตามสภาพอากาศก็สำคัญเพราะตอนนี้ฝนตกแทบจะทุกฤดู ก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น จึงขอให้ประชาชนดูแลบ้านเรือนตนเองไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยยึดหลัก “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค” คือ 1.เก็บบ้านให้สะอาด ไม่ให้มีมุมอับทึบเป็นที่เกาะพักของยุง 2.เก็บขยะ เศษภาชนะไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และ 3.เก็บน้ำ ภาชนะใส่น้ำต้องปิดฝาให้มิดชิดป้องกันไม่ให้ยุงลายวางไข่ เพื่อป้องกัน 3 โรคในคราวเดียวกัน คือ 1.โรคไข้เลือดออก 2.โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และ 3.ไข้ปวดข้อยุงลาย รวมถึงสังเกตอาการของตนเอง หากมีอาการไข้สูงมากโดยฉับพลัน ปวดเมื่อย หน้าตาแดง อาจมีผื่นขึ้นใต้ผิวหนังตามแขนขา ข้อพับ และหากมีไข้สูง 2-3 วันไม่หายหรือไม่ดีขึ้น ต้องรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลโดยเร็ว.

 ข่าวจาก ไทยโพสท์

แบบฟอร์มติดต่อกลับ