มดง่าม PHEIDOLGETON DIVERSUS

มดง่าม CAREBARA DIVERSUS

  • ชื่อสามัญ: East Indian harvesting ant     
  • ชื่อวิทยาศาสตร์: Carebara diversus
  • Family: Formicidae
  • Order: Hymenoptera 

 

 

ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา

ลักษณะหนวด : แบบหักข้อศอก (geniculate) มี 11 ปล้อง

ลักษณะปีก : นางพญาจะมีปีก เป็นแบบใส (membrane)

ลักษณะปาก : แบบกัดกิน  (chewing  type) 

ลักษณะขา : แบบขาเดิน (walking leg) 

ลักษณะทั่วไป : ตัวเต็มวัยมีความยาวลำตัว 4.5 - 13 mm. มีสีน้ำตาลเข้ม กรามมีขนาดใหญ่เด่นชัดเจน อกปล้องแรก (pronotum) และอกปล้องกลาง (mesonotum) มีลักษณะนูน ส่วนอกปล้องสุดท้าย (metanotum) เว้าลง มี metanotal spine, มี pedicel 2 ปุ่ม ส่วนท้องกว้างรูปไข

พฤติกรรม : หลักการสำคัญในการรวมฝูงของมดง่าม คือการไม่มีผู้นำ ไม่มีผู้นำคอยสั่งการมดงาน มดราชินีไม่มีบทบาทอะไรนอกจากวางไข่ กำหนดจำนวนประชากร แม้จะมีสมาชิกถึงห้าแสนตัว แต่ฝูงมดก็ยังทำงานได้อย่างราบรื่นโดยไม่มีการจัดการใด ๆ ไม่มีแม้กระทั่งความขัดแย้ง การดำเนินการต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับปฏิสัมพันธ์ระหว่างมดแต่ละตัว เมื่อพบเหยื่อจะทำร้ายเหยื่อโดยการกัดและฉีดสารพิษออกทางปลายท้อง เมื่อเหยื่อได้รับบาดเจ็บจะช่วยกันลากกลับรัง

 

มดง่าม มีการเจริญเติบโตแบบ complete metamorphosis ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  • ระยะไข่ (egg) : ตัวเมียวางไข่ภายใน 24 ชั่วโมงแรกประมาณ 10-20 ฟอง ไข่มีระยะเวลาประมาณ 8-10 วัน
  • ตัวอ่อน (larva) : มี 4 ระยะ  โดยเฉลี่ยระยะตัวอ่อนอยู่ที่ 6-12 วัน
  • ดักแด้ (pupa) : มีระยะเวลาอยู่ที่ 9-16 วัน
  • ตัวเต็มวัย (adult) : มดงานมีอายุไขเฉลี่ยประมาณ 30-180 วัน นางพญาประมาณ 2-6 ปี และสามารถผลิตไข่ได้กว่า 2 ล้านครั้งในช่วงชีวิต  ระยะเวลาจากไข่จนถึงตัวเต็มวัยใช้เวลา 1 เดือน
 

แหล่งอาหาร : กินอาหารจากพืช กินแมลง และซากสัตว์เล็ก ๆ เป็นอาหาร รวมทั้งเศษอาหารที่คนทิ้งไว้

แหล่งอาศัย : ทำรังบนต้นไม้ใหญ่โดยใช้ใบเหล่านี้ประกอบเป็นรังโดยตัวอ่อนจะปล่อยสารเหนียวออกมาเชื่อมใบไม้ให้ประกอบกัน

การแพร่กระจาย : หลายประเทศในทวีปเอเชีย อินเดีย ญี่ปุ่น ไต้หวัน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

  

วิธีการป้องกันควบคุม

  • ควรทำความสะอาดพื้นอาคารอย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้มดชนิดนี้เข้ามาภายในบ้าน
  • ไม่ทำเศษอาหารหกเลอะเทอะ ถ้าหกก็ให้ทำความสะอากทันที
  • ใช้แป้งเย็นไล่มด
  • ใช้ชอล์กกำจัดมด เจลหยอดมด
  • น้ำมะนาวช่วยไล่มดได้ น้ำมะนาวเป็นอีกกลิ่นที่มดไม่ชอบเหมือนกัน เพราะมีกรดซิตริกที่มดเกลียดมาก วิธีง่ายๆ ในการไล่มด โดยผสมน้ำมะนาว 1 ส่วน กับน้ำเปล่า 3 ส่วน แล้วนำไปใส่ในขวดสเปรย์ จากนั้นจึงนำไปฉีดพ่นไปในบริเวณที่มดเดินเป็นประจำ
  • กำจัดมดด้วยน้ำส้มควัน ไม้น้ำส้มควันไม้จะช่วยไล่มดให้หนีไปอยู่ที่อื่น โดยวิธีนี้เหมาะสำหรับไล่มดที่มาทำรังอยู่ใกล้กับต้นไม้หากคุณปลูกพืชผักต่าง ๆ แล้วเห็นมดมาทำรังอยู่ ใช้วิธีนี้จัดการได้

 

เอกสารอ้างอิง

Moffett, M. 1988. Foraging dynamics in the group-hunting myrmicine ant, Pheidologeton diversus. Journal of Insect Behavior 1:309–331

 

...................................................................................................... 

*** สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม *** 

Tel : 02-374-7118-9, 02-377-2488, 02-377-9580, 02-375-1995
e-mail : customercare@unicorgroup.com
website : www.unicorgroup.com

 

 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ