ด้วง ถั่วเหลือง SOUTHERN COWPEA WEEVIL

ด้วง ถั่วเหลือง SOUTHERN COWPEA WEEVIL

  • ชื่อสามัญ : Southern cowpea weevil
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Callosobruchus chinensis (L.)  
  • Family : Chrysomelidae
  • Order : Coleoptera

 

ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา

ลักษณะหนวด : เพศผู้เป็นแบบฟันหวี (pactinate) เพศเมียเป็นแบบกึ่งฟันเลื่อย (subserrate)

ลักษณะปีก : ปีกคู่หน้าเป็นแบบแข็ง (Elytra) มีลักษณะปีกคลุมมิดลำตัว บนปีกทั้งสองข้างมีแถบสีน้ำตาลอ่อน ปีกคู่หลังเป็นแบบ membrane ลักษณะบางใส

ลักษณะปาก : แบบกัดกิน (chewing type)

ลักษณะขา : แบบขาเดิน (walking leg)

ลักษณะทั่วไป : ตัวเต็มวัยของด้วงถั่วเหลืองมีลักษณะรูปร่างคล้ายด้วงถั่วเขียวแต่มีขนาดเล็กกว่า ขนาดลำตัวอยู่ที่ 2.5 – 3.0 mm. ความแตกต่างที่เห็นได้ชัด คือ บริเวณ scutellum มีสีขาว ปลายสุดของลำตัวจะมีสีขาว ในระยะไข่มีลักษณะเป็นรูปรีสีขาวขุ่น ตัวอ่อนมีสีขาวเหลือง ลำตัวโค้งงอ ดักแด้มีสีขาว และสีเปลี่ยนเป็นเข้มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น

 

ด้วงถั่วเหลือง มีการเจริญเติบโตแบบ complete metamorphosis ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  • ระยะไข่ (egg) : มีสีขาวใสรูปโคม ตัวเมียตลอดชีวิตวางไข่ได้ 40-100 ฟอง มีระยะเวลา 3-6 วัน
  • ตัวอ่อน (larva) : มีระยะเวลา 13-20 วัน ตัวอ่อนมีสีขาวเหลือง ลำตัวโค้งงอ
  • ดักแด้ (pupa) : มีระยะเวลา 3-7 วัน
  • ตัวเต็มวัย (adult) : มีอายุไขประมาณ 3-10 วัน วงจรชีวิตประมาณ 19-33 วัน

 

แหล่งอาหาร : เมล็ดถั่วทุกชนิดและผลิตภัณฑ์จากถั่ว  เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วดำ ถั่วเหลือง ถั่วพุ่ม ถั่วฝักยาว ถั่วแดง เป็นต้น

ลักษณะการทำลาย : ตัวเต็มวัยเพศเมียชอบวางไข่ที่ผิวเมล็ดที่มีความเรียบมากกว่าเมล็ดที่ความขรุขระ ในระยะตัวอ่อนจะกัดกินภายในเมล็ด เมื่อเป็นดักแด้ตัวเต็มวัยจะเจาะเมล็ดออกมาสู่ภายนอกเพื่อผสมพันธุ์และวางไข่ต่อไป ตัวเต็มวัยบินได้ดี

การแพร่กระจาย : แพร่กระจายอยู่ทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศแถบร้อนและกึ่งร้อน

 

วิธีการป้องกันควบคุม

  • ควรทำความสะอาดพื้นอาคารอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดแหล่งอาหารที่ตกอยู่ตามพื้น และแหล่งหลบซ่อนตามซอกมุมต่าง ๆ เช่น ตามมุมของโคนเสา ตู้ควบคุมวงจรไฟฟ้า เป็นต้น
  • ควบคุมอุณหภูมิโดยการใช้ความร้อนหรือเย็นจัดเพื่อให้แมลงหยุดการเจริญเติบโตและบางชนิดตายไป
  • ทำการอบแก๊ส Fumigate วัตถุดิบก่อนที่จะนำเข้ามาเก็บไว้ และ Fumigate สินค้าที่รอ Reject เพื่อป้องกัน การแพร่พันธุ์ของแมลงในโรงเก็บ กระจายไปในพื้นที่ใกล้เคียงได้
  • ไม่เก็บวัตถุดิบไว้เป็นเวลานาน เพื่อไม่ไห้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์หรือแหล่งสะสมของแมลงในโรงเก็บ
  • ใช้สถานีฟีโรโมน Pheromone trap เพื่อกำจัดตัวเต็มวัยและเป็นตัว monitor การระบาดและการแพร่กระจายของแมลง

 

เอกสารอ้างอิง

พรทิพย์ วิสารทานนท์, พรรณเพ็ญ ชโยภาส, ใจทิพย์ อุไรชื่น, รังสิมา เก่งการพานิช, กรรณิการ์ เพ็งคุ้ม, จิราภรณ์ ทองพันธ์, ดวงสมร สุทธิสุทธิ์, ลักขณา ร่มเย็น, ภาวินี หนูชนะภัย, อัจฉรา เพชรโชติ. (2551). แมลงที่พบในผลิตผลเกษตรและการป้องกันกำจัด. กลุ่มวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว สำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร กรมวิชาการเกษตร

...................................................................................................... 

*** สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม *** 

Tel : 02-374-7118-9, 02-377-2488, 02-377-9580, 02-375-1995
e-mail : customercare@unicorgroup.com
website : www.unicorgroup.com