นกพิราบป่า

นกพิราบป่า

ROCK PIGEON

  • ชื่อสามัญ : Rock pigeon
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Columba livia
  • Family : Columbidae
  • Order : Columbiformes

 

ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา

ลักษณะทั่วไป :ตัวเต็มวัยมีความยาวเฉลี่ย 28 cm. มีขนสีเทาอ่อน บริเวณปีกมีแถบสีดำคาดด้านบน 2 แถบ เท้าสีแดง มีความหลากหลายของสีและรูปแบบของขนมากมีสีรุ้งอมเหลือง เขียว และม่วงแดงเป็นมัน ตามขนคอ ตัวเมียมักจะมีสีรุ้งน้อยกว่าตัวผู้นกพิราบวัยอ่อนมีลักษณะคล้ายกับตัวเต็มวัย แต่ไม่มีขนที่คอเป็นมัน ลูกนกที่ฟักออกมาใหม่จะถูกปกคลุมด้วยขนสีเหลือง การพัฒนาขนนกที่แท้จริงจะเริ่มขึ้นหลังจากฟักออก 1 สัปดาห์ 

 

นกพิราบป่าอกลาย มีการเจริญเติบโต 3 ระยะ ประกอบด้วย

  • ระยะไข่ (Egg) : มีระยะเวลา 17-19 สัปดาห์ ตัวเมียจะวางไข่ 2-3 ฟอง
  • นกวัยอ่อน (Juvenile) : ลูกนกจะออกจากรังภายใน 28-42 วัน
  • ตัวเต็มวัย (Adult) : มีอายุขัยเฉลี่ย 6 ปี แต่นกพิราบเลี้ยงสามารถมีอายุขัยได้ถึง 35 ปี

 

พฤติกรรม : นกชนิดนี้มักมีคู่ครองตัวเดียวโดยที่เมื่อจับคู่กันแล้วจะไม่แยกจากกันเลยตลอดชีวิต แม้ว่าคู่จะตายไปแล้วโดยทั่วไปแล้วนกพิราบจะเดินหรือวิ่งในขณะที่ก้มศีรษะไปข้างหน้าและข้างหลัง สามารถบินได้อย่างมั่นคง มักพบเห็นในเวลากลางวัน โดยหาที่กำบังในตอนกลางคืน มีพฤติกรรมก้าวร้าว จิกกัด หากมีผู้บุกรุกอาณาเขตที่ทำรัง

แหล่งอาศัย : ทำรังอยู่ในรอยแยกตามหน้าผาที่มีหิน ใกล้กับเขตเกษตรกรรมหรือไม้พุ่มแบบเปิด ปัจจุบันพบเห็นทำรังในเมืองต่าง ๆ เนื่องจากตึกระฟ้าเข้ามาแทนที่บริเวณหน้าผาตามธรรมชาติ

แหล่งอาหาร : กินเมล็ดพืชเป็นหลักหากินในตอนเช้าและตอนบ่ายบนพื้นที่โล่งนกพิราบเพศเมียจำเป็นต้องรับประทานอาหารที่มีโปรตีนและแคลเซียมค่อนข้างสูงเพื่อให้มีสารอาหารในการวางไข่

การแพร่กระจาย : มีถิ่นกำเนิดในยุโรป แอฟริกาเหนือ และทางตะวันตกของเอเชีย ก่อนที่จะแพร่กระจายไปตามเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก เพราะเป็นนกที่มีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมโดยเฉพาะในเมืองได้ดีมาก 

การนำโรค การแพร่กระจายของโรคจากนกสู่คนส่วนใหญ่เกิดจากการสูดดมเชื้อในอากาศ การสัมผัสกับนกที่ติดเชื้อ ขนนกหรือมูลแห้งที่ปนเปื้อน มีรายงานว่ามูลนกเป็นแหล่งสะสมเชื้อก่อโรคในมนุษย์ มูลนกพิราบซึ่งมีอยู่มากในที่สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจเป็นพาหะในการแพร่กระจายของเชื้อก่อโรคสู่สิ่งแวดล้อมและในมนุษย์ในภายหลัง 

 

โรคไข้หวัดนก

เป็นการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอในสัตว์ปีกคนส่วนใหญ่ที่ป่วยหรือเสียชีวิตจากเชื้อ H5N1 ที่ทำให้เกิดโรคได้สูง ได้สัมผัสกับสัตว์ปีกที่ติดเชื้อโดยตรงทำให้มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอและปวดกล้ามเนื้อ ท้องร่วง โรคปอดบวม และโรคระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ 

SOURCE:Influenza (Avian) Fact Sheet (PDF) https://www.health.pa.gov/topics/Documents/Diseases%20and%20Conditions/Avian%20Influenza.pdf

โรค Psittacosis

เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Chlamydia psittaciทำให้ผู้ป่วยเป็นไข้นกแก้ว มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ (มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ) แต่อาจนำไปสู่โรคปอดบวมรุนแรงโดยปกติมักมีอาการไม่รุนแรงในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันปกติ แต่จะมีอาการรุนแรงในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง

SOURCE: Psittacosis https://www.gov.uk/guidance/psittacosis

โรค Cryptococcosis

เกิดจากเชื้อรา Cryptococcus neofarmansเป็นเชื้อราที่พบได้ในมูลของนกพิราบโดยทั่วไปแล้วจะพบบ่อยในผู้ป่วยที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง ทำให้เกิดการติดเชื้อที่ปอดหรือสมอง มีอาการเป็นไข้ ไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอก ปวดเบ้าตา วิงเวียนศีรษะ หากติดเชื้อที่สมองอาจทำให้เกิดการสับสน หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

SOURCE: Cryptococcosis (PDF) https://www.cfsph.iastate.edu/FastFacts/pdfs/cryptococcosis_F.pdf

โรค Histoplasmosis

เกิดจาดเชื้อรา Histoplasmaซึ่งจะอยู่ในดินที่ปนเปื้อนมูลนกพิราบ ผู้ป่วยส่วนใหญ่เมื่อติดเชื้อจะไม่ไม่แสดงและไม่ทราบว่าตนเองติดเชื้อ แต่จะมีความรุนแรงในทารกและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง การติดเชื้อรุนแรงอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เมื่อมีอาการจะเป็นไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อาการไอแห้ง เจ็บหน้าอก เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า

 SOURCE: Histoplasmosis https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/histoplasmosis/symptoms-causes/syc-20373495

โรค Salmonellosis

เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Salmonellaเกิดขึ้นได้จากการสัมผัสและการกินน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อนมูลโดยไม่ได้ตั้งใจหรือการบริโภคเนื้อสัตว์และไข่ที่ปรุงไม่สุกจากนกที่ติดเชื้อ นกที่ติดเชื้อโรคเหล่านี้อาจมีอาการท้องร่วงและมูลที่เปลี่ยนสี แต่นกบางตัวอาจไม่แสดงอาการของโรค นกที่เลี้ยงแบบปล่อยอิสระหรือที่จับได้ตามธรรมชาติมีแนวโน้มที่จะเป็นพาหะของเชื้อเหล่านี้มากกว่านกที่เลี้ยงและเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อมักมีอาการท้องร่วง ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และอาจมีไข้ร่วมด้วย

SOURCE: Zoonoses Associated with Birdshttps://iacuc.wsu.edu/zoonoses-associated-with-birds/ 

โรคจากEscherichia coli

เป็นแบคทีเรียที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในทางเดินอาหารของสัตว์และคน E. coli บางชนิด มีอันตรายและสามารถทำให้เกิดโรคได้ โดยเฉพาะในผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ การติดเชื้อE. coli อาจเกิดจากการกลืนกินอุจจาระโดยไม่ได้ตั้งใจหรือการบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนและปรุงไม่สุก นกที่ติดเชื้อมักไม่แสดงอาการใด ๆ แต่ผู้ที่ติดเชื้อ E. coli ที่เป็นอันตราย อาจมีอาการรุนแรง เช่น ท้องร่วงเป็นเลือด และอาจมีอาการไตวาย

*บ่อยครั้งที่โรคเหล่านี้ไม่ได้ทำให้นกดูป่วย แต่สามารถทำให้เกิดโรคร้ายแรงในมนุษย์ได้ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเรื้อรัง โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง และผู้ที่ตั้งครรภ์ อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคหรือภาวะแทรกซ้อนจากโรคจากสัตว์สู่คนได้

SOURCE: Zoonoses Associated with Birdshttps://iacuc.wsu.edu/zoonoses-associated-with-birds/

 

เอกสารอ้างอิง

Johnston, Richard F. Birds of North America No. 13, 1992. The American Ornithologists' Union.

Mosca, F. 2001. "Pigeons and Pigeon Genetics for Everyone" (On-line). Accessed May 8, 2001 at http://www.angelfire.com/ga3/pigeongenetics/.

"Rock Pigeon". Cornell lab of ornithology – All about birds. 2003. สืบค้นเมื่อ 2008-04-29.

Mallis, A. 2011, Handbook of Pest Control, 10th Edition, Mallis Handbook LLC

Chee HY, Lee KB. Isolation of Cryptococcus neoformans var. grubii (serotype A) from pigeon droppings in Seoul, Korea. J Microbiol. 2005;43:469–72

 

...................................................................................................... 

*** สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม *** 

Tel : 02-374-7118-9, 02-377-2488, 02-377-9580, 02-375-1995
e-mail : customercare@unicorgroup.com
website : www.unicorgroup.com