ปลวก ดินหุน MACROTERMES TERMITE

ปลวก ดินหุน MACROTERMES TERMITE 

  • ชื่อสามัญ : ปลวกดินหุน
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Microcerotermes crassus
  • Family : Termitidae
  • Order : Blattodea

 

ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา

ลักษณะหนวด : ลูกปัด (moniliform)

ลักษณะปีก : แบบบางใส (membrane)

ลักษณะปาก : กัดกิน (chewing type)

ลักษณะขา : แบบขาเดิน (walking leg)

ลักษณะทั่วไป : มีความยาวลำตัวประมาณ 5-6 mm. ลำตัวสีครีม ส่วนหัวรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำตาลอมเหลือง ด้านหลังอกปล้องแรกมีลักษณะเหมือนอานม้า กราม (mandible) ยาวคล้ายเคียวมีฟันขนาดเล็กอยู่ด้านในเรียงตามความยาวของกราม

 

ปลวก มีการเจริญเติบโตแบบ complete metamorphosis ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  • ระยะไข่ (egg) : ตัวเมียวางไข่ชุดแรก 15-30 ฟอง สามารถวางไข่ได้มากถึงครั้งละ 1,000 ฟอง ระยะฟักใช้เวลา 2-4 สัปดาห์ ไข่มีสีขาวขนาดเล็กกลม
  • ตัวอ่อน (larva) : มีสีขาว คล้ายตัวเต็มวัย มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทีละน้อย โดยปีกยังไม่เจริญ
  • ตัวเต็มวัย (adult) : มีอายุขัย 4 ปี แต่นางพญามีอายุขัยประมาณ 20 ปี หรือมากกว่านั้น

 

แหล่งอาหาร : เศษไม้ ซากไม้กินเนื้อไม้ไปตามแนวความยาวของเสี้ยนไม้เป็นร่องลึกเข้าไป เนื้อไม้ที่ถูกทำลายจะมีร่องรอยเป็นจุดดำๆ ของขี้ปลวกกระจายอยู่

แหล่งอาศัย : เป็นปลวกสร้างรังขนาดเล็ก (carton-nest building termite) สร้างรังดินบนต้นไม้ หรือใต้ดิน รังมีรูปร่างและขนาดแตกต่างกันไป สามารถพบได้ในและรอบ ๆ บ้านเรือนในชนบทและในเขตชานเมือง มักพบร่วมกับปลวก Coptotermes gestroi ในแหล่งอาศัยตามธรรมชาติอยู่ตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง

การแพร่กระจาย : พบแพร่กระจายทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย

พฤติกรรม : เป็นแมลงสังคม ซึ่งแบ่งเป็นระบบวรรณะ

 

วรรณะงาน (worker) : เป็นแรงงานภายในรัง มีหน้าที่หาอาหาร เก็บอาหาร ดูแลซ่อมแซมไข่และรังป้อนอาหารตัวอ่อน

วรรณะทหาร (soldier) : มีหน้าที่ปกป้องรังเท่านั้น มีหัวขนาดใหญ่ทีมีขากรรไกรใหญ่มากจนไม่สามารถกินอาหารเองได้ จึงต้องอาศัยปลวกงานคอยป้อนอาหารเหมือนกับพวกตัวอ่อน

วรรณะสืบพันธุ์ : ประกอบด้วยตัวผู้และตัวเมียที่เจริญพันธ์เรียกว่าราชาและราชินีปลวกราชินีปลวกมีหน้าที่ในการวางไข่สำหรับสืบพันธุ์ ราชาปลวกจะผสมพันธ์กับราชินีตลอดทั้งชีวิต ในบางสปีชีส์ส่วนท้องของราชินีปลวกขยายขนาดใหญ่มากเพื่อเพิ่มความเจริญพันธ์

 

เอกสารอ้างอิง

Bignell, D.E.; Roisin, Y.; Lo, N. (2010). Biology of Termites: A Modern Synthesis (1st ed.). Dordrecht: Springer. ISBN 978-90-481-3977-4. 

Machida, M.; Kitade, O.; Miura, T.; Matsumoto, T. (2001). "Nitrogen recycling through proctodeal trophallaxis in the Japanese damp-wood termite Hodotermopsis japonica (Isoptera, Termopsidae)". Insectes Sociaux. 48 (1): 52–56.

Horwood, M.A.; Eldridge, R.H. (2005). Termites in New South Wales Part 1. Termite biology (PDF) (Technical report). Forest Resources Research. ISSN 0155-7548. 96-38.

Keller, L. (1998). "Queen lifespan and colony characteristics in ants and termites". Insectes Sociaux. 45 (3): 235–246.

Ubon Ratchathani University. 2015. The endangered insects. Accessed on August 31, 2022, From http://www.ilab-ubu.net/endinsects/bug_preview.php?id=189

Lertlumnaphakul, W.; Ngoen-Klan, R.; Vongkaluang, C.; Chareonviriyaphap, T. A Review of Termite Species and Their Distribution in Thailand. Insects 2022, 13, 186. https://doi.org/10.3390/insects13020186

สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. (ม.ป.ป.). ปลวก (Microcerotermes crassus). แหล่งที่มา: http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofinsect&view=showone&id=1173, 31 สิงหาคม 2565

Nik Ahmad Irwan Izzauddin, N. H., Suhaila, A.H. & Zarul, H.H. (2019). Royal Belum-Temengor Rainforest : The Hidden Treasure of Perak. Penerbit Universiti Sains Malaysia and Kementerian Air, Tanah dan Sumber Asli. pp. 300.

Dhang, P. (2011) A Preliminary Study on Elimination of Colonies of the Mound Building Termite Macrotermes gilvus (Hagen) Using a Chlorfluazuron Termite Bait in the Philippines. Insects 2011, 2(4), 486-490; doi:10.3390/insects2040486.

Dhang, P. (2014) Examining the economics of termite baiting in a South East Asian scenario. Proceedings of the Eighth International Conference on Urban Pests Gabi Müller, Reiner Pospischil and William H Robinson (editors) 2014 Printed by OOK-Press Kft., H-8200 Veszprém, Papái ut 37/a, Hungary, pp 279-283.

Garcia, C.M., Giron, M.Y. and Broadbent, S.G. (2007) Termite baiting system: a new dimension of termite control in the Philippines. Proceedings of the 38th International Research Group on Wood Preservation, Wyoming, USA, May pp 12.

Peters, B.C., Broadbent, S.G. and Dhang, P. (2008) Evaluating a baiting system for management of termites in landscape and orchard trees in Australia, Hong Kong, Malaysia and Philippines. In: Robinson W.H. and Bajomi D. (eds.) Proceedings of the Sixth International Conference on Urban Pests, Budapest, July 2008, OOK-Press, Budapest pp. 379-383. 

Rojas, M.G. and Morales-Ramos, J. A. (2004) Disruption of reproductive activity of Coptotermes formosanus (Isoptera: Rhinotermitidae) primary reproductives by three chitin inhibitors. Journal of Economic Entomology 97, 2015-2020.

สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. (ม.ป.ป.). ปลวก (Macrotermes gilvus). แหล่งที่มา: http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofinsect&view=showone&id=561, 6 กันยายน 2565

 

...................................................................................................... 

*** สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม *** 

Tel : 02-374-7118-9, 02-377-2488, 02-377-9580, 02-375-1995
e-mail : customercare@unicorgroup.com
website : www.unicorgroup.com