ปลวก ท้องเหลือง SOUTH EAST ASIAN TAR-BABY TERMITE

ปลวก ท้องเหลือง  SOUTH EAST ASIAN TAR-BABY TERMITE 

  • ชื่อสามัญ : South east Asian tar-baby termite
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Globitermes sulphureus
  • Family : Termitidae
  • Order : Blattodea

 

ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา

ลักษณะหนวด : ลูกปัด (moniliform)

ลักษณะปีก : แบบบางใส (membrane)

ลักษณะปาก : กัดกิน (chewing type)

ลักษณะขา :  แบบขาเดิน (walking leg)

ลักษณะทั่วไป : มีความยาวลำตัวประมาณ 4 mm. ส่วนหัวกลม สีน้ำตาลอมเหลือง ส่วนกราม (mandible) โค้งยาว มีฟันเล็ก ๆ อยู่ด้านใน ส่วนอกและท้องสีเหลือง

 

ปลวก มีการเจริญเติบโตแบบ complete metamorphosis ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  • ระยะไข่ (egg) : ตัวเมียวางไข่ชุดแรก 15-30 ฟอง สามารถวางไข่ได้มากถึงครั้งละ 1,000 ฟอง ระยะฟักใช้เวลา 2-4 สัปดาห์ ไข่มีสีขาวขนาดเล็กกลม
  • ตัวอ่อน (larva) : มีสีขาว คล้ายตัวเต็มวัย มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทีละน้อย โดยปีกยังไม่เจริญ
  • ตัวเต็มวัย (adult) : มีอายุขัย 4 ปี แต่นางพญามีอายุขัยประมาณ 20 ปี หรือมากกว่านั้น

 

แหล่งอาหาร : ส่วนใหญ่กินเนื้อไม้ธรรมชาติที่ผุพัง เศษใบไม้ ทำความเสียหายให้กับอาคารบ้านเรือนและไม้ที่ใช้ประโยชน์กลางแจ้ง

แหล่งอาศัย : เป็นปลวกที่อาศัยอยู่ตามจอมปลวก (mound-building termite) สร้างรังขนาดใหญ่เป็นเนินดินสูง พบทั่วไปในพื้นที่เกษตรกรรม ทำลายอาคารที่มนุษย์สร้างขึ้นเป็นครั้งคราว

การแพร่กระจาย : พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไทย กัมพูชา และคาบสมุทรมาเลเซีย

พฤติกรรม : ปลวกทหารจะจับศัตรูด้านกราม และจะสละตัวเองโดยการฉีกตัวเองเพื่อปล่อยของเหลวเหนียวออกมาทำให้ศัตรูไร้ความสามารถ เรียกการป้องกันตัวนี้ว่า autothysis

 

วรรณะงาน (worker) : เป็นแรงงานภายในรัง มีหน้าที่หาอาหาร เก็บอาหาร ดูแลซ่อมแซมไข่และรังป้อนอาหารตัวอ่อน

วรรณะทหาร (soldier) : มีหน้าที่ปกป้องรังเท่านั้น มีหัวขนาดใหญ่ทีมีขากรรไกรใหญ่มากจนไม่สามารถกินอาหารเองได้ จึงต้องอาศัยปลวกงานคอยป้อนอาหารเหมือนกับพวกตัวอ่อน

วรรณะสืบพันธุ์ : ประกอบด้วยตัวผู้และตัวเมียที่เจริญพันธ์เรียกว่าราชาและราชินีปลวกราชินีปลวกมีหน้าที่ในการวางไข่สำหรับสืบพันธุ์ ราชาปลวกจะผสมพันธ์กับราชินีตลอดทั้งชีวิต ในบางสปีชีส์ส่วนท้องของราชินีปลวกขยายขนาดใหญ่มากเพื่อเพิ่มความเจริญพันธ์

 

เอกสารอ้างอิง

"Globitermes sulphureus (Haviland, 1898)". Global Biodiversity Information Facility. Retrieved 25 April 2021.

Yamada, Akinori; Tetsushi Inoue; Decha Wiwatwitaya; Moriya Ohkuma; Toshiaki Kudo & Atsuko Sugimoto (February 2006). "Nitrogen fixation by termites in tropical forests, Thailand". Ecosystems. 9 (1): 75–83. 

Majid, Abdul Hafiz Ab.; Abu Hassan Ahmad; Rashid M Z A & Che Salmah Md Rawi (2007). "Preliminary field efficacy of imidacloprid on Globitermes sulphureus (Isoptera: Termitidae) (Subterranean termite) in Penang" (PDF). Jurnal Biosains. 18 (2): 109–114.

Termite web. (n.d.). Termite pictures – Globitermes sulphureus. Accessed on September 1, 2022, From https://www.termiteweb.com/termite-pictures-globitermes-sulphureus/

สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. (ม.ป.ป.). ปลวก (Globitermes sulphureus). แหล่งที่มา: http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofinsect&id=760&view=showone&Itemid=73, 1 กันยายน 65

 

...................................................................................................... 

 *** สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม *** 

Tel : 02-374-7118-9, 02-377-2488, 02-377-9580, 02-375-1995

e-mail : customercare@unicorgroup.com
website : www.unicorgroup.com