หนูจี๊ด POLYNESIAN RAT

หนูจี๊ด POLYNESIAN RAT 

  • ชื่อสามัญ: Polynesian rat
  • ชื่อวิทยาศาสตร์: Rattus exulans
  • Family: Muridae
  • Order: Rodentia

 

ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา

ลักษณะทั่วไป มีหูขนาดใหญ่ จมูกแหลม มีขนสีดำหรือน้ำตาล ส่วนท้องมีขนสีอ่อนกว่า และเท้าค่อนข้างเล็ก มีความยาวลำตัวประมาณ 10.5-15 cm. หางยาวประมาณ 12.8-18 cm. มีขนาดเล็กกว่าหนูชนิดอื่น ๆ  ขนด้านนอกแข็ง หางเรียบยาว ขาคู่หลังมีแถบสีดำ (dark bar)

 

หนูจี๊ดมีการเจริญเติบโตทั้งหมด 3 ระยะ ประกอบด้วย

  • ระยะตั้งครรภ์ (Gestation) : ผสมพันธุ์ตลอดทั้งปี โดยออกลูกปีละ 4 ครอก ครอกละ 6-11 ตัว มีระยะเวลาประมาณ 21-22 วัน
  • หย่านม (Weaning) : ประมาณ 2-4 สัปดาห์
  • ระยะตัวเต็มวัย (Adult) : โดยทั่วไปมีอายุขัยประมาณ 12-15 เดือน แต่อายุขัยมากที่สุดที่พบคือ 6 ปี

 

พฤติกรรม : ออกหากินเวลากลางคืน มีความสามารถในการปีนป่าย ว่องไว ว่ายน้ำได้ดี ทำรังโดยไม่ขุดรู

แหล่งอาศัย : สามารถปรับตัวอยู่ในแหล่งอาศัยที่หลากหลาย พบได้ตามบ้านเรือน พื้นที่เกษตรกรรม เช่น โรงยุ้งฉาง แต่ไม่พบในนา และยังพบได้ในป่าและถ้ำ

แหล่งอาหาร : กินอาหารได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นพืช เช่น หญ้า เมล็ดพืช ผลไม้ หรือแมลง ไส้เดือน แมงมุมรวมถึงกินอาหารตามที่มนุษย์กินได้ด้วย

การแพร่กระจาย : พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และหมู่เกาะใกล้เคียงในมหาสมุทรแปซิฟิก โอเชียเนีย จนถึงฮาวายจัดเป็นหนูชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้ตามบ้านเรือนเช่นเดียวกับ หนูท้องขาว (R. rattus) และหนูบ้าน (R. norvegicus) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน

 

การนำโรคที่เกิดจากสัตว์ฟันแทะจำพวกหนู 

  • โรคฉี่หนู (Leptospirosis) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Leptospiraที่สะสมอยู่บริเวณท่อไตของหนู การแพร่เชื้อสู่คนเกิดจากการสัมผัสปัสสาวะหรือสารคัดหลั่งของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือสัมผัสกับน้ำหรือดินที่ปนเปื้อนปัสสาวะของสัตว์ที่ติดเชื้อ
  • โรคไข้หนูกัดเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Streptobacillus moniliformesซึ่งอยู่ในช่องปาก จมูก ทางเดินหายใจส่วนต้นของสัตว์ฟันแทะจำพวกหนู โดยจะแพร่สู่คนโดยการกัดหรือข่วน เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล
  • โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (LCMV)เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Lymphocytic choriomeningitis virus (LCMV) มักเกิดจากการสัมผัสกับอุจจาระ ปัสสาวะ หรือน้ำลายของหนูที่ติดเชื้อ
  • โรค Hantavirusเกิดจาก Hantavirus ที่ปนเปื้อนมากับอุจจาระ ปัสสาวะ และสารคัดหลั่งจากสัตว์ฟันแทะ หรือจากการกัด รับเชื้อผ่านทางผิวหนังที่มีบาดแผล รวมถึงกินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ
  • โรค Q fever เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Coxiella burnetii คนมักติดโรคจากการหายใจเอาฝุ่นละอองที่ปนเปื้อนเชื้อ หรือจากการสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ที่ติดเชื้อ
  • โรคติดเชื้อในทางเดินอาหารเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนอยู่ในมูล ปัสสาวะ หรือสารคัดหลั่งของหนู โดยจะได้รับเชื้อจากการกินอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ อาทิเช่น Salmonellosis, Campylobacteriosis,Cryptosporidiosis เป็นต้น
  • นอกจากนี้ยังมีโรคที่เกิดจากเห็บ หมัด และไรที่อยู่บนตัวหนู ได้แก่ โรคไข้กระตาย (Tularemia),กาฬโรค, โรคไข้กลับซ้ำ, โรคไข้รากสาดใหญ่

 

เอกสารอ้างอิง      

Ruedas, L.; Heaney, L. & Molur, S. (2008). "Rattus exulans". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2009.2. International Union for Conservation of Nature. Retrieved 6 February 2010.

Diamond, Jared (2005). Collapse: How Societies Choose to Fail or Succeed. Penguin Group. ISBN 0-670-03337-5.

Dwyer, P. 1978. A study of Rattus exulans in the New Guinea highlands. Australian Wildlife Research, 5/2: 221-248.

Masaharu, M., L. Kau-Hung, H. Masashi, L. Liang-Kong. 2001. New records of Polynesial Rat Rattus exulans (Mammalia:Rodentia) from Taiwan and the Ryukyus. Zoological Studies, 40/4: 299-304.

Russell, J. 2002. "Rattus exulans" (On-line). Global Invasive Species Database. Accessed October 24, 2002 at http://www.issg.org/database/species/search.asp?sts=sss&st=sss&fr=1&sn=Polynesian+rat&rn=&hci=-1&ei=-1&x=33&y=11.

Tobin, M. 1994. Polynesian Rats. Prevention and Control of Wildlife Damage: 121-124.

Walton, D., J. Brooks, K. Thinn, U. Tun. 1980. Reproduction in Rattus exulans in Rangoon, Berma. Mammalia, 44/3: 349-360.

Williams, M. 1973. The Ecology of Rattus exulans (Peale) Reviewed. Pacific Science, 27/2: 120-127.

Weber WJ, 1982. Diseases transmitted by rats and mice. Fresno, California, USA: Thomas Publications

Wang, H.C. (2004) Epidemiology of tsutsugamushi disease and hantavirus infection in Taiwan, pp. 93–111.

Centers for Disease Control and Prevention. 2014. Lymphocytic Choriomeningitis (LCM). Accessed on August 29, 2022, From https://www.cdc.gov/vhf/lcm/index.html 

NSW Health. 2021. Staying healthy during a mouse plague. Accessed on August 29, 2022, From https://www.health.nsw.gov.au/environment/factsheets/Pages/mouse-plague.aspx

Center of Emerging and Re-emerging Infectious Diseases in Animals, Faculty of Veterinary Science Chulalongkorn University. (n.d.). Q fever. Accessed on August 29, 2022, From http://www.eidas.vet.chula.ac.th/node/382

Center of Emerging and Re-emerging Infectious Diseases in Animals, Faculty of Veterinary Science Chulalongkorn University. (n.d.). Hantavirus. Accessed on August 29, 2022, Fromchrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://www.cfsph.iastate.edu/FastFacts/th/hantavirus.pdf