หนูนอร์เวย์ BROWN RAT

หนูนอร์เวย์ BROWN RAT 

  • ชื่อสามัญ : Brown rat
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rattus norvegicus
  • Family : Muridae
  • Order : Rodentia

 

ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา

ลักษณะทั่วไป :เป็นหนูขนาดใหญ่ มีความยาวหัวและลำตัวประมาณ 15-28 cm. หางมีความยาว 10.5-24 cm. ลักษณะของขนค่อนข้างหยาบ อยู่กระจัดกระจาย  มีสีเทาเข้ม, สีเทา, สีน้ำตาล,มีสีน้ำตาลด้านบนลำตัวและสีเทาอ่อนด้านล่างลำตัวส่วนจมูกทู่ มีใบหูเล็ก ตาเล็ก หางเรียบ มีเกล็ดหยาบ ๆ ที่หาง มีเต้านมรวม 6 คู่ อยู่ที่อก 3 คู่ ท้อง 3 คู่

 

หนูนอร์เวย์มีการเจริญเติบโตทั้งหมด 3 ระยะ ประกอบด้วย

  • ระยะตั้งครรภ์ (Gestation)ออกลูกได้ 7 ครอก/ปี ครอกละประมาณ 8 ตัว มีระยะเวลา 22-24 วัน
  • หย่านม (Weaning)มีระยะเวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์
  • ระยะตัวเต็มวัย (Adult)มีอายุขัยไม่เกิน 2 ปี

 

พฤติกรรม : หนูนอร์เวย์ส่วนใหญ่จะออกหากินเวลากลางคืนหรือออกหากินในตอนพลบค่ำ โดยมักจะไปขุดโพรง หาอาหาร และเตรียมรังในช่วงเวลาเหล่านี้ บ่อยครั้งที่หนูเหล่านี้อาศัยอยู่บริเวณใกล้น้ำ ว่ายน้ำได้ดีมีความสามารถในการเรียนรู้ สามารถจดจำเส้นทางตามโพรงหรือท่อระบายน้ำที่ซับซ้อนได้อยู่กันเป็นกลุ่มใหญ่ซึ่งมีลำดับชั้นทางสังคมที่ตัวผู้เป็นใหญ่ ซึ่งลำดับชั้นขึ้นอยู่กับขนาดของลำตัว

แหล่งอาศัย : มีถิ่นกำเนิดในป่าและบริเวณที่มีพุ่มไม้เตี้ย อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน หนูนอร์เวย์จะอาศัยอยู่ตามแหล่งอาศัยของมนุษย์ เมืองท่าเกือบทุกแห่งในโลกมีประชากรสัตว์ฟันแทะเหล่านี้เป็นจำนวนมาก มีแหล่งที่อยู่อาศัยที่หลากหลาย รวมถึงที่ทิ้งขยะ ท่อระบายน้ำ ทุ่งโล่งและป่าไม้ ห้องใต้ดิน ทุกที่ที่มนุษย์อาศัยอยู่ R. norvegicus มักจะตามมา

แหล่งอาหาร หนูนอร์เวย์หาอาหารได้ดีเนื่องจากมีประสามสัมผัสในการดมกลิ่นและการสัมผัสที่ดี อยู่รอดได้ค่อนข้างง่ายเนื่องจากมีอาหารที่เพียงพอและหลากหลาย ในเมืองใหญ่มักจะกินเศษอาหารที่มนุษย์ทิ้งเป็นหลัก

การแพร่กระจาย : มีถิ่นกำเนิดในบริเวณตอนเหนือของจีน จากนั้นแพร่พันธุ์เข้าสู่ยุโรป ปัจจุบันแพร่กระจายไปทั่วทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นแอนตาร์กติกา

 

การนำโรคที่เกิดจากสัตว์ฟันแทะจำพวกหนู 

  • โรคฉี่หนู (Leptospirosisเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Leptospiraที่สะสมอยู่บริเวณท่อไตของหนู การแพร่เชื้อสู่คนเกิดจากการสัมผัสปัสสาวะหรือสารคัดหลั่งของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือสัมผัสกับน้ำหรือดินที่ปนเปื้อนปัสสาวะของสัตว์ที่ติดเชื้อ
  • โรคไข้หนูกัด : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Streptobacillus moniliformesซึ่งอยู่ในช่องปาก จมูก ทางเดินหายใจส่วนต้นของสัตว์ฟันแทะจำพวกหนู โดยจะแพร่สู่คนโดยการกัดหรือข่วน เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล
  • โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (LCMV) : เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Lymphocytic choriomeningitis virus (LCMVมักเกิดจากการสัมผัสกับอุจจาระ ปัสสาวะ หรือน้ำลายของหนูที่ติดเชื้อ
  • โรค Hantavirus : เกิดจาก Hantavirus ที่ปนเปื้อนมากับอุจจาระ ปัสสาวะ และสารคัดหลั่งจากสัตว์ฟันแทะ หรือจากการกัด รับเชื้อผ่านทางผิวหนังที่มีบาดแผล รวมถึงกินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ
  • โรค Q fever เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Coxiella burnetii คนมักติดโรคจากการหายใจเอาฝุ่นละอองที่ปนเปื้อนเชื้อ หรือจากการสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ที่ติดเชื้อ
  • โรคติดเชื้อในทางเดินอาหาร : เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนอยู่ในมูล ปัสสาวะ หรือสารคัดหลั่งของหนู โดยจะได้รับเชื้อจากการกินอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ อาทิเช่น Salmonellosis, Campylobacteriosis,Cryptosporidiosis เป็นต้น
  • นอกจากนี้ยังมีโรคที่เกิดจากเห็บ หมัด และไรที่อยู่บนตัวหนู ได้แก่ โรคไข้กระตาย (Tularemia),กาฬโรค, โรคไข้กลับซ้ำ, โรคไข้รากสาดใหญ่

 

เอกสารอ้างอิง

Avalos, L., C. Callahan. 2001. "Classification and Characteristics of Mammals" (On-line). Accessed March 28, 2004 at http://www.humboldt.edu/~cmc43/mammalcharacters.htm.

Barnett, S. 1963. The Rat. Chicago & London: University of Chicago Press.

Calhoun, J. 1962. The Ecology and Sociology of the Norway Rat. Bethesda, MD: U.S. Department of Health, Education and Welfare.

Hamilton, W. 1998. The Mammals of Eastern United States, 3rd edition. Ithaca, NY: Comstock Publishing.

Nowak, R., J. Paradiso. 1983. Walker's Mammals of the World: Fourth Edition. Baltimore, MD: The Johns Hopkins University Press.

Parker, S. 1990. Grzimek's Encyclopedia of Mammals: Volume 3. New York: McGraw-Hill Publishing Company.

Silver, J. 1927. The Introduction and Spread of House Rats in the United States. Journal of Mammalogy, 8/1: 58-60.

Meerburg BG, Singleton GR, Kijlstra A (2009). "Rodent-borne diseases and their risks for public health". Crit Rev Microbiol. 35 (3): 221–70.

Kosoy, Michael; Khlyap, Lyudmila; Cosson, Jean-Francois; Morand, Serge (1 January 2015). "Aboriginal and Invasive Rats of Genus Rattus as Hosts of Infectious Agents". Vector-Borne and Zoonotic Diseases. 15 (1): 3–12. 

Webster, JP; Lloyd, G; Macdonald, DW. (1995). "Q fever (Coxiella burnetii) reservoir in wild brown rat (Rattus norvegicus) populations in the UK". Parasitology. 110: 31–55.

Centers for Disease Control and Prevention. 2014. Lymphocytic Choriomeningitis (LCM). Accessed on August 29, 2022, From https://www.cdc.gov/vhf/lcm/index.html

NSW Health. 2021. Staying healthy during a mouse plague. Accessed on August 29, 2022, From https://www.health.nsw.gov.au/environment/factsheets/Pages/mouse-plague.aspx

Center of Emerging and Re-emerging Infectious Diseases in Animals, Faculty of Veterinary Science Chulalongkorn University. (n.d.). Q fever. Accessed on August 29, 2022, From http://www.eidas.vet.chula.ac.th/node/382

Center of Emerging and Re-emerging Infectious Diseases in Animals, Faculty of Veterinary Science Chulalongkorn University. (n.d.). Hantavirus. Accessed on August 29, 2022, Fromchrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://www.cfsph.iastate.edu/FastFacts/th/hantavirus.pdf