เพลี้ยจักจั่น มะม่วง MANGO LEAFHOPPER

เพลี้ยจักจั่น มะม่วง MANGO  LEAFHOPPER

  • ชื่อสามัญ : Mango leafhopper
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Idioscopus clypealis (Lethierry), I. niveosparsus (Lethierry)
  • Family : Cicadellidae
  • Order : Hemiptera

 

ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา

ลักษณะหนวด : แบบเส้นขน (Setaceous)

ลักษณะปีก : ปีกคู่หน้าเป็นแบบ Hemelytra บริเวณส่วนโคนปีกแข็ง ส่วนปีกคู่หลังเป็นแบบ membrane ลักษณะบางใส

ลักษณะปาก : แบบเจาะดูด (piercing-sucking type)

ลักษณะขา : ขาคู่ที่ 1-2 เป็นแบบขาเดิน (walking leg) ขาคู่ที่ 3 เป็นแบบขากระโดด (Jumping leg)

ลักษณะทั่วไป : เพลี้ยจักจั่นที่พบระบาดอยู่มี 2 ชนิด ซึ่งมีรูปร่างคล้ายกันมาก ขนาดความยาวลำตัว 5.6 - 6.5 mm. ส่วนหัวโตและป้าน ลำตัวเรียวแหลมมาทางด้านหาง ทำให้เห็นส่วนท้องเรียวเล็ก มองดูด้านบนเหมือนรูปลิ่ม และที่แผ่นตรงเหนือริมฝีปากบนเป็นสีดำ มักอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม ทำให้ได้ยินเสียงชัดเจน ลำตัวมีสีเทาปนดำ หรือน้ำตาลปนเทา

 

เพลี้ยจักจั่นมะม่วง มีการเจริญเติบโตแบบ incomplete metamorphosis ซึ่งประกอบไปด้วย

  • ระยะไข่ (egg) : มีระยะเวลาประมาณ 7 – 10 วัน
  • ตัวอ่อน (Nymph) : มีระยะเวลา 17 – 19 วัน ลอกคราบ 4 ครั้ง
  • ตัวเต็มวัย (adult) : มีชีวิตอยู่ได้ 15-19 วัน

 

แหล่งอาหาร : พืชวงศ์มะม่วง (F. Anacardiaceae) เช่น มะม่วง เป็นต้น

ลักษณะการทำลาย : ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จะทำลายใบอ่อน ช่อดอก ก้านดอก และยอดอ่อน โดยจะดูดน้ำเลี้ยงจากช่อดอกทำให้แห้งและดอกร่วง ติดผลน้อยหรือไม่ติดเลย

การแพร่กระจาย : พบได้ในหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

วิธีการป้องกันควบคุม

  • พ่นด้วยสารฆ่าแมลง carbaryl (เซฟวิน 85% WP)
  • ในส่วนที่มีการระบาดรุนแรงควรเปลี่ยนไปพ่นด้วยสารไพรีทรอยด์สังเคราะห์ คือ permethrin 10 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร Lamda-cyhalothrin L 7 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร Cyfluthrin 4 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร Deltamethrin 10 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร และ Cypermethrin 10 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร
  • ตัดแต่งกิ่งภายหลังเก็บผลผลิตเป็นวิธีที่ต้องกระทำอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยลดที่หลบซ่อนของเพลี้ยจักจั่นลงและทำให้การพ่นสารฆ่าแมลงมีประสิทธิภาพดีขึ้น

 

เอกสารอ้างอิง

Viraktamath C A, 1989. Auchenorrhyncha (Homoptera) associated with mango, Mangifera indica L. Tropical Pest Management. 35 (4), 431-434.

Waterhouse D F, 1993. The major arthropod pests and weeds of agriculture in Southeast Asia. Canberra, Australia: ACIAR. v + 141 pp.

 

...................................................................................................... 

*** สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม *** 

Tel : 02-374-7118-9, 02-377-2488, 02-377-9580, 02-375-1995
e-mail : customercare@unicorgroup.com
website : www.unicorgroup.com